วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

อายัดเงินเดือนอันตรายเตรียมตัวไว้

อายัดเงินเดือนอันตรายเตรียมตัวไว้

ลูกหนี้ส่วนใหญ่จะทำงานมีเงินเดือนกันแทบทุกคน .. (นอกจากลูกหนี้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจ-กิจการ)
.. ลูกหนี้ส่วนใหญ่มักจะกลัวเจ้าหนี้มาอายัดเงินเดือนจนตัวเองไม่มีเงินเดือนเหลือใช้ความกลัวที่จะถูก
เจ้าหนี้อายัดเงินเดือนจึงเป็นจุดอ่อนของลูกหนี้ .. เจ้าหนี้ทนายของเจ้าหนี้ หรือพนักงานทวงหนี้รู้จุด
อ่อนนี้จึงพยายามข่มขู่ลูกหนี้ " ถ้าไม่ใช้หนี้ก็จะฟ้องอายัดเงินเดือนให้หมดเลย " หรือ บางครั้งทนาย
เจ้าหนี้ก็จะส่งหนังสือบอกกล่าวทวงหนี้มา " ถ้าไม่ใช้หนี้ตามที่กำหนด ฟ้องคดี ..ยึดทรัพย์สิน. อายัด
เงินเดือน ".. ลูกหนี้บางคนพอเจ้าหนี้หรือทนายเจ้าหนี้บอกมาแบบนี้ ก็จะกลัวจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ
(ขี้หด ตดหาย ) .. บางคนถึงกับคิดจะลาออกจากงานเพื่อหา งานทำใหม่ ( เรารู้สึกเห็นใจลูกหนี้ทุกคน
แต่ขอบอกเอาไว้เลยว่า อย่าคิดลาออกและหางานใหม่เลยเสียเวลาเปล่าๆ )
อันที่จริงแล้วถ้าลูกหนี้รู้กฎหมายเกี่ยกับเรื่องอายัดเงินเดือนแล้ว รับรองได้ว่า ไม่ต้องเปลี่ยนงานไม่
ต้องกลัวคำขู่เจ้าหนี้ว่าจะอายัดเงินเดือนไม่ว่าลูกหนี้จะมีเจ้าหนี้ร้อยรายพันรายก็ตาม( โดยเฉพาะ
ลูกหนี้ บัตรเครดิต )
มารู้กันว่าจะมีช่องทางของกฎหมายอย่างไร
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๘๖ บัญญัติไว้ว่า
แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
.... ลูกหนี้ที่ทำงานมีเงินเดือนจะมีอยู่ ๒ ประเภทตามกฎหมาย คือ
๑ . ข้าราชการ
๒ . พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัททั่วๆไป
.... ทั้ง ๒ ประเภทนี้ กฎหมายให้ทำการอายัดเงินเดือนได้ต่างกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพ่งมาตรา ๒๘๖ บัญญัติไว้
๑ . ข้าราชการ .. เจ้าหนี้ไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ .. ได้แต่ทรัพย์สินที่มีราคารวมกันไม่เกิน ๕๐,๐๐๐
บาทไม่ได้เลย เกินกว่านี้ยึดได้ และอายัดเงินในบัญชีธนาคารเท่านั้น( ดูคำพิพากษาฎีกาที่นี่ )
๒ . พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัททั่วๆไป
... ๒ . ๑ เจ้าหนี้อายัดเงินผู้มีเงินเดือนไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทไม่ได้เลย .. แต่ถ้ามีเงิน เดือนเกิน ๑๐,๐๐๐
บาทเจ้าหนี้อายัดได้( แต่ไม่ได้ทั้งหมด ) เกินกว่า ๑๐,๐๐๐ บาทอายัดได้
... ๒ . ๒ เจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีราคารวมกันไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ไม่ได้เลย เกินว่านี้ยึดได้
และอายัดเงินในบัญชีธนาคารได้ ( ดูคำพิพากษาฎีกาที่นี่ )
.... ทำไมกฎหมายจึงกำหนดไว้แต่ต่างกันทั้งๆ ก็เป็นลูกหนี้เหมือนกัน .. อันที่จริงเจ้าหนี้มักจะไม่รู้
วิธียึดเงินเดือนของลูกหนี้ที่รับราชการ ถ้าเจ้าหนี้รู้วิธีที่จะยึดเงินเดือนข้าราชการรับรองได้ว่า ไม่ว่า
ลูกหนี้คนนั้นจะเป็นอธิบดีกรมใด หรือปลัดกระทรวงใด จะไม่เหลือเงิน เลยสักบาทเดียว หนักกว่าลูก
หนี้ทั่วๆ ไปอีก แถมอาจจะโดนข้อหาโกงเจ้าหนี้ด้วย ... ดังนั้น ข้าราชการที่ทนงตัวว่าไม่มีเจ้าหนี้
คนไหน จะมาอายัดเงินเดือนได้ ก็ขอให้ระวังตัวให้ดีๆ นะ .. (ถึงกับออกจากราชการเชียวนะถ้ารู้ว่า
มีเคยคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับ เรื่องนี้มาแล้ว) .. ที่เตือนข้าราชการไว้แบบนี้ก็เพราะบางคนไม่รู้กฎหมาย
อย่างแท้จริงเพียงแต่รู้ตัวบทกฎหมาย หรือสอบถามจากเพื่อนๆ เท่านั้น .. ถ้าอยากจะรู้เจ้าหนี้จะมีวิธีใด
ที่จะยึดเงินเดือนข้าราชการได้ .. ท่านต้องไปดูในข้อมูลสมาชิก VIP รับรองได้ ท่านอาจน้ำตาตกถ้าเจอ
ทนายเจ้าหนี้ที่รู้วิธียึดเงินเดือนข้าราชการตามกฎหมาย ( เอาไว้เป็นสมาชิก VIP ถึงจะมีโอกาสดูตัวบท
กฎหมาย และคำพิพากษา ฎีกาที่เกี่ยวข้อง )
..... ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท .. ลูกหนี้ประเภทนี้เจ้าหนี้ชอบมากที่จะปล่อย
เงินให้กู้ หรือให้สินเชื่อเครดิต ( บัตรเครดิตต่างๆ ) เพราะกฏหมายบัญญัติไว้ให้อายัดเงินเดือนได้
.. เรื่องนี้เจ้าหนี้ทุดคน ทนายเจ้าหนี้ก็รู้ดี ( เราจึงเห็นใจลูกหนี้ ประเภทนื้มาก ) ... เพราะลูกหนี้ประเภท
นี้มักจะมี เจ้าหนี้มากมาย และเจ้าหนี้ก็มักจะชอบขู่ลูกหนี้ประเภทที่ ๒ นี้เสมอๆ. เมื่อเจ้าหนี้ทุกรายมา
ทำการ อายัดเงินเดือนก็ยอมให้เขาอายัดเงินเดือนทั้งหมด ซึ่งถ้าลูกหนี้รู้กฎหมายและรู้วิธีการที่จะไม่
ให้เจ้าหนี้อายัดเงินเดือนทั้งหมดได้ ก็จะทำให้เจ้าหนี้นั่งน้ำตาตกบ้าง .. แล้วทำอย่างไรละที่จะรู้วิธีไม่
ให้เจ้าหนี้ทุกรายอายัดเงินเดือนทั้งหมดได้ .. ขอให้อ่าน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๘๖ บัญญัติไว้ ให้ดีๆ อ่านสัก ๑๐ รอบ แล้วจะรู้วิธี .. รับรองได้ว่าลูกหนี้ประเภท ที่ ๒ นี้
จะมีเงินเดือนเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้เหมือนเดิม .. และเจ้าหนี้ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้อีก
นอกจากตามยึดทรัพย์สินส่วนตัว ในเรื่องการยึดทรัพย์สินส่วนตัวขอให้ลูกหนี้ไปดูในเรื่อง " เจ้าหนี้
ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้ " ที่นี้ละลูกหนี้ก็ล้มบนกองฟูกกินก็อิ่ม .. นอนก็หลับสบายไม่ต้องลาออกจาก
งานหนีหนี้ไปหางานใหม่
มาดูวิธีที่จะไม่ให้เจ้าหนี้อายึดเงินเดือนทั้งหมดไปใช้หนี้ตามคำพิพากษา
.... เมื่อเจ้าหนี้ชนะคดีแล้วก็จะทำเรื่องขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อมาทำการอายึดเงินเดือน
ลูกหนี้ .. โดยที่เจ้าหนี้จะต้องแจ้งด้วยว่า ลูกหนี้มีเงินเดือนเท่าไร ทำงานอยู่ที่ไหน .. จากนั้นเจ้าพนัก
งานบังคับ คดีก็จะส่งหนังสือไปทำการอายัดเงินเดือนกับบริษัทที่ลูกหนี้ทำงาน โดยกำหนดจำนวน
เงินที่จะต้องหัก และนำส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดี .. โดยส่วนใหญ่แล้วก้จะให้หักเงินของลูกหนี้
ส่งมาให้ประมาณ ๔,๒๓๐ บาท .. แต่บางครั้ง เจ้าพนักงานอาจจะใช้อัตราเงินเดือนข้าราชการพล
เรือน คือ ๗,๔๘๐ ซึ่งก็ทำได้ตามกฎหมาย เพราะถือว่าอยู่ในอำนาจที่จะทำได้ ( แต่ถ้าเจ้าพนักงาน
บังคับคดีที่มีความเป็นธรรมจริงๆ จะหักให้แค่ ๔,๒๓๐ บาท )
... ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีให้หักเงิน ๗,๔๘๐ บาท หรือน้อยกว่านั้น ลูกหนี้ก็สามารถร้องขอให้ลด
ลงมาได้อีก โดยยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้เหตุผลตามความจำเป็น " ฐานะในทาง
ครอบครัว ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการี และผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะ "
. ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมตามที่ลูกหนี้ร้องขอ ( แถมพูดขู่มาด้วย ) .. ลูกหนี้ก็ไม่ต้องกลัวหรือ
กังวนใจแต่อย่างใด เพราะกฎหมายยังบอกอีกว่า มาตรา ๒๘๖ วรรคสาม " ในกรณีที่เจ้าพนักงาน
บังคับคดีมีอำนาจ ออกคำสั่งอายัดตามมาตรา 311 วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจ
กำหนดจำนวนเงิน ตาม (1) (3) และ (4) และให้นำ ความ ในวรรคสองมาใช้บังคับแก่การกำหนด
จำนวนเงินตาม (1) และ (3) โดยอนุโลม ... แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีไม่เห็นด้วย กับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับ
คดีกำหนด บุคคลดังกล่าว อาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกำหนด
จำนวนเงิน เช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ได้ "( นี้ละครับที่ผมบอกว่า " กฎหมาย
ยังให้ความเป็นธรรม ถ้าเรารู้เราก็ได้เปรียบเจ้าหนี้ ส่วนเจ้าหนี้จะนั่งน้ำตาตกได้อย่างไรอ่านจบแล้ว
จะรู้ครับ )
.... เมื่อรู้ว่ามาตรากฎหมายบัญญัติไว้ให้เจ้าหนี้สามารถอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ แต่ไม่ใช้ว่าเจ้าหนี้
จะอายัด เงินเดือนได้ทั้งหมดเพราะกฎหมายบัญญัติในวรรคสอง " ในการกำหนดจำนวนเงินตาม (1)
และ (3) ให้ศาลกำหนดให้ไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือน ขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้นทั้ง
นี้โดยคำนึง ถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการี และผู้สืบสันดาน
ซึ่งอยู่ในความอุปการะของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย " .. หมายความว่า เจ้าหนี้สามารถอายัดเงิน
เดือนได้ แต่ให้ศาล กำหนดไม่น้อยกว่าอักตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือน และฐานะทาง
ครอบครัวด้วย ... เงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการ ณ ปัจจุบัน คือ ( ดูบัญชีเงินเดือนข้าราชการขั้นต่ำที่
๔,๒๓๐ บาท) และฐานะทางครอบครัวที่ต้องใช้จ่ายเลี้ยงดู ๑๐,๐๐๐ บาท ศาลก็ต้องเอามาพิจารณา
... ตัวอย่าง
เป็นหนี้ตามคำพิพากษา ๕๐,๐๐๐ พร้อมดอกหลังคำพิพากษาอีกร้อยละ ๑๐ ต่อปี มีเงินเดือน
๑๒,๐๐๐ บาท ต้องมีภาระทางครอบครัว ลูก ส่งให้พ่อแม่ ค่าใช้จ่ายภายในบ้านเดือนละ ๑๐,๐๐๐
บาท เมื่อถูกอายัดเงินเดือนก็จะต้องถูกหักเงินใช้หนี้ตาม คำพิพากษาเดือนละ ๔,๒๓๐ บาท แต่
เนื่องจาก ลูกหนี้มีภาระทางครอบครัวต้องใช้จ่ายเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท มีเงินให้หักเพียง ๒,๐๐๐
บาท..... ซึ่งศาลอาจจะพิจารณาให้หักเพียง ๒,๐๐๐ บาทก็ได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า " ทั้งนี้
คำนึงถึงฐานะในทาง ครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการี โดยและผู้สืบสันดาน
ซึ่งอยู่ในความอุปการะของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย " ซึ่งศาลจะเป็นผู้ใชดุลพินิจพิจารณาเองตาม
ข้อเท็จจริง.. แต่ข้อสำคัญลูกหนี้ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลด้วยว่า ตัวลูกหนี้เองมีเหตุจำเป็นทางครอบ
ครัวอย่างไรตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
.... จากตัวอย่างทำให้เห็นว่ากฎหมายยังให้ความยุติธรรม และศาลยังมีความปราณีกับลูกหนี้เสมอ
เจ้าหนี้รายอื่นๆ จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้
ผมบอกแล้วว่า " กฎหมายยังให้ความยุติธรรมกับลูกหนี้เสมอ " แม้ลูกหนี้จะมีเจ้าหนี้ร้อยราย
.. เมื่อเจ้าหนี้รายใดอายัดเงินเดือนไว้ก่อนแล้ว เจ้าหนี้รายหลังๆ จะมาอายัดเงินเดือนซ้ำอีกไม่ได้เด็ด
ขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๙๐ ซึ่งเจ้าหนี้ หรือทนายของเจ้าหนี้
จะทำการอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ .. เจ้าหนี้ได้แต่ขอเฉลี่ยเอาจากเจ้าหนี้รายแรก โดย
ยื่นคำร้องขอเข้ามาภายใน ๑๔ วัน หรือจะอายัดได้ต่อเมื่อเจ้าหนี้รายแรกถอนการอายัด เงินเดือน
ของลูกหนี้ไปแล้วเท่านั้น
เมื่อเจ้าหนี้อายัดเงินเดือนลูกหนี้ไม่ได้แล้ว เจ้าหนี้จะทำอย่างไร
.... เมื่อเจ้าหนี้อายัดเงินเดือนลูกหนี้ไม่ได้ เจ้าหนี้ก็จะหันไปใช้วิธียึดทรัพย์อื่น ของลูกหนี้ต่อไป
( ขอให้ไปดูเรื่องเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ลูกหนี้ไม่ได้นะครับ )
ทำอย่างไรจะไม่ใช้หนี้เจ้าหนี้รายอื่นๆ
.... เมื่อลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นๆ แล้วนอกจากเงินเดือน .. เจ้าหนี้รายอื่นๆ ก็ต้องรอคิวอายัดเงินเดือน
ต่อจากเจ้าหนี้รายที่อายัดก่อนหน้าตามกฎหมาย ... และอายุความเรื่องการบังคับคดียึดหรืออายัด
ทรัพย์สินของ ลูกหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ว่า เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับยึด
ทรัพย์สินของลูกหนี้ภายในเวลา ๑๐ ปี นับแต่วันสิ้นคำบังคับ หรือวันที่ลูกหนี้ไม่ใช้หนี้ตาม
คำพิพากษา
.... ดังนั้นถ้า ลูกหนี้มีเจ้าหนี้ ๒๐ ราย ๆ ละ ๕๐,๐๐๐ บาท รวมหนี้ทั้งหมด ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ต้องแบ่งชำระเป็นให้เจ้าหนี้เป็นรายๆ ดังนี้ ... ตัวอย่าง
.. ตามตัวอย่างแรก เจ้าหนี้รายแรกอายัดเงินเดือนและศาลให้หักเงินเดือนชำระหนี้เดือนละ ๒,๐๐๐
บาท ต้องหักทั้งหมด ๒๕ เดือน จึงระครบ ๕๐,๐๐๐ บาท
. เจ้าหนี้รายที่ ๒ ก็มาอายัด เงินเดือนต่อและศาลก็ให้ใช้หัก ใช้หนี้อีกเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ต้อง
หักทั้งหมด อีก ๒๕ เดือน จึงจะครบหนี้ ... เมื่อรวมกับเจ้าหนี้รายแรกเป็น ๕๐ เดือน
.... เจ้าหนี้รายที่ ๓ ก็มาอายัดเงินเดือนอีก และก็หักแบบเดียวกับเจ้าหนี้รายที่ ๒ ก็ต้องใช้เวลาอีก ๒๕
เดือน จึงจะครบหนี้ .. เมื่อรวมกับ เจ้าหนี้รายที่ ๒ เป็น ๗๕ เดือน
.... เจ้าหนี้รายที่ ๔ ก็เช่นเดียวกันกับเจ้ารายที่ ๓ ต้อหักอีก ๒๕ เดือน ... เมื่อรวมกับเจ้าหนี้รายที่ ๓
เป็น ๑๐๐ เดือน
..... เจ้ารายที่ ๕ ก็เช่นเดียวกับเจ้าหนี้รายที่ ๔ .. แต่ เจ้าหนี้รายที่ ๕ สามารถหักได้แค่ ๒๐ เดือนเท่า
นั้น เหลืออีก ๕ เดือนเจ้าหนี้ไม่สามรถ ที่จะหักเงินเดือนของลูกหนี้อีกต่อไปได้ เพราะ กฎหมายกำหนด
เอาไว้แล้วว่าจะบังคับลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้แค่ ๑๐ ปีเท่านั้น.เมื่อรวมกับเจ้าหนี้รายที่ ๔ เป็น ๑๒๕
เดือน เกิน มา ๕ เดือน จึงหักในส่วนที่เกินไม่ได้ ( แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับวันที่ศาลพิพากษา และส่งคำ
บังคับเป็นหลักด้วย )
..... เมื่อเจ้าหนี้รายที่ ๕ ไม่สามารถหักเงินเดือนได้ครบเพราะอายุความของกฎหมายมาตรา ๑๙๓/๓๒
แล้ว เจ้าหนี้รายอื่นๆ ก็ไม่สามารถที่จะอายัดเงินเดือนได้อีกต่อไปเพราะหมดอายุความ ๑๐ ปีแล้ว
..... ดังนั้นเท่ากับลูกหนี้ใช้หนี้ให้เจ้าไปทั้งหมด ๔ รายกว่าๆ เป็นเงินรามทั้งสิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท
ส่วนที่เหลือหนี้อีก ๗๖๐,๐๐๐ บาท ลูกหนี้ไม่ต้องใช้ให้เจ้าหนี้อีกต่อไปแล้ว โดยผลของกฎหมาย
.... ตามตัวอย่างนี้ ... ลูกหนี้ก็ไม่ต้องใช้หนี้เจ้าหนี้ที่ฟ้องคดีอีกต่อไปแล้ว .. โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกหนี้
ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต ต้องดีใจ กินอิ่มนอนหลับ ไม่ต้องพะวงว่าจะถูกฟ้องถูกยึดเงินจนหมดตัว ถึงขั้น
ต้องเตรียมตัวหนี้หรือลาออกจากงานอีกต่อไปแล้ว ... เงินเดือนก็มีเหลือใช้ แต่มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่ง
คือ ลูกหนี้ต้องติดแบลคลิส ( ถูกขึ้นบัญชีดำ ) .. แต่ลูกหนี้คงไม่สนใจเรื่องบัญชีดำแน่นอน .. ได้เงิน
มาใช้ฟรีๆ ตั้งหลายแสน ... ลูกหนี้บางคนได้มาเป็นล้านก็มี ... และอย่างนี้ไม่เรียกว่า " เอากฎหมาย
ตบหน้าเจ้าหนี้ แล้วจะเรียกว่าอะไรครับ " .. นี้เป็นเพียงการล้มบนกองฟูกตามกฎหมายอีกวิธีหนึ่ง
เท่านั้น .. ยังมีวิธีล้มบนกองฟูกอีกมากมาย โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ทำธุรกิจใหญ่โต กู้เงินธนาคารหลาย
สิบหลายร้อยล้าน .. ก็ยังไม่ต้องใช้หนี้ได้เช่นกัน ( แต่ไม่ใช่วิธีนี้เท่านั้นนะครับ )
.... ผมกล้าพูดได้เต็มปากว่า " ไม่มีนักกฎหมายท่านไหน ที่จะบอกเล่าวิธีการแบบนี้ให้กับลูกหนี้ หรือ
ท่านสมาชิกทางเว็บอีกแล้ว ถึงจะมี ก็คงน้อยมาก หรืออาจจะลอกเรียนแบบเว็บของผมได้ก็เป็นไป
ได้เรื่องนี้ไม่ว่ากัน ขอให้ลูกหนี้ได้รับประโยชน์สูงสุดผมก็ดีใจแล้ว..จะได้ ลูกหนี้ทุกคน ไม่ให้ถูก
เจ้าหนี้เอารัดเอาเปรียบทางกฎหมายอีกต่อไป สังคมจะได้เจริญขึ้น "
.... แต่ถ้า ลอกเอาไปแล้วและไปเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ อีก ผมคงต้องฟ้องเรียกค่าเสีย
หายตามพระราชบัญญัติสิขสิทธิสัก ๑๐ ล้านคงจะดี
ลูกหนี้รู้แล้วก็อย่าเที่ยวเอาไปใช้ในทางที่ผิดๆ ละครับ
....ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางหลักของลูกหนี้ที่จะไม่ต้องใช้หนี้เท่านั้น ในรายละเอียดเกี่ยวกับการ
ทำคำร้องต่างๆ หรือการตกลงใดๆ ในศาล ควรปรึกษาทนายหรือนักกฎหมายจะดีกว่า เพราะยัง
มีรายละเอียดและวิธีที่เกี่ยวข้องอีกพอสมควร ... ที่บอกเล่ามาแต่แรกนี้ก็เพื่อ ให้ลูกหนี้รู้ช่องทาง
ของกฎหมาย จะได้มีอาวุธทางกฎหมายไว้ป้องกันตัว " รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง "
... ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น: