วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

ประนีประนอมยอมความหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว

ประนีประนอมยอมความหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว
...........เมื่อศาลพิพากษาแล้ว ... จะเข้าสู่ชั้นบังคับคดี คู่กรณีที่แพ้คดีก็อาจประนีประนอมยอมความกันได้อีก
โดยอาศัยหลักกฎหมายแพ่งเรื่องประนีประนอมยอมความ และการแปลงหนี้
.... ... ถ้าตกลงกันได้ฝ่ายที่ชนะคดี อาจของดการบังคับคดีไว้ก่อนได้ ตามปวิพ. ๒๙๒ ( ๓ ) หรือสล ะสิทธิการ
บังคับคดี ตามปวิพ ๒๙๕ ( ๒ )
........ ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องบังคับคดีกันต่อไป
.... ... ในชั้นนี้ฝ่ายแพ้คดีจะเสียเปรียบมาก .. เพราะเจ้าหนี้หรือทนายของเจ้าจะทำตัวยิ่งใหญ่มาก ( มีคำ
พิพากษาอยู่ในมือ )

.........แต่ถ้าฝ่ายแพ้คดีหลบเจ้าหนี้เก่ง ...เจ้าหนี้ก็ทำอะไรไม่ได้ .... ข้อนี้ควรระวังของฝ่ายแพ้คดีคือ ถ้าหลบ
เจ้าหนี้ไม่ดี อาจติดคุก ฐานโกงเจ้าหนี้ได้ ป อ. ๓๔๙ - ๓๕๑....แต่ถ้าฝ่ายแพ้คดีหลบแบบถูกกฎหมาย ก็รอดตัวไป
เรียกว่า " ล้มบนกองฟูก " ..... เจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินอะไรไม่ได้เลย ...ถึงแม้จะมีคำพิพากษาก็ตาม . ลูกหนี้
สามารถที่จะเดินไปเยาะเย้ยฝ่ายชนะคดีได้ .... ถ้าหลบได้ถึง ๑๐ ปีหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้
จะมายึดทรัพย์ฝ่ายแพ้อีกไม่ได้เลย ตามปวิพ มาตรา ๒๗๑

.........แต่ก่อนจะหมดอายุความ ๑๐ ปี .. ฝ่ายชนะคดีจะมีกลเม็ดต่างๆ มาหลอกฝ่ายแพ้ให้ทำประนีประนอม
หรือแปลงหนี้ ถ้าฝ่ายแพ้หลงกลยอมแปลงหนี้ หรือประนีประนอมโดยมีหลักประกันใหม่ ... ฝ่ายชนะคดีก็
จะฟ้องคดีได้ใหม่อีก โปรดระวังกันไว้ให้ดี
......... หลักการประนีประนอมยอมความนี้ ..สามารถนำไปใช้ได้กับทุกหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าหนี้
หรือฝ่ายลูกหนี้

ดูมาตรา

มาตรา 292 เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณี ต่อไปนี้
(1) ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดได้กระทำไปโดยขาดนัด และได้มีการขอให้บังคับคดี
ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่
เมื่อศาลได้ส่งคำสั่งให้งดการบังคับคดีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา 209 แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ในอันที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่ง
กำหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควร
(2) ถ้าศาลได้มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ เมื่อศาลได้ส่งคำสั่งนั้นไปให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีทราบ ในกรณีเช่นนี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะ
เวลาหรือเงื่อนไขตามที่ศาลจะได้กำหนดไว้
(3) ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับว่าตนตกลง
งดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะที่กำหนดไว้หรือภายในเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง
(4) เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามข้อความแห่งมาตรา 54
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวงดการบังคับคดีนั้น ให้แก่เจ้าหนี้ตาม
คำพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย เว้นแต่จะได้งดการบังคับคดีตามคำขอ
ของบุคคลเหล่านั้นเอง


มาตรา 295 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณี ต่อไปนี้
(1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเอง หรือถอนโดยคำสั่งศาล
แล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับ
คดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดี หรือ
ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีหรือได้หาประกันมาจนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับ
จำนวนเงินเช่นว่านี้
(2) ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นหนังสือว่า
ตนสละสิทธิในการบังคับคดีนั้น
(3) ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดี
ได้ถูกยกเลิกเสีย เมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี
แต่ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้น ได้ถูกกลับแต่เพียงบางส่วน การบังคับคดี
อาจดำเนินต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา


ประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 4
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

มาตรา 349 ผู้ใดเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์
ซึ่งทรัพย์อันตนจำนำไว้แก่ผู้อื่น ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 350 ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่
บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือ
โอนไปให้ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 351 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้

ไม่มีความคิดเห็น: