วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

การดำเนินคดีในส่วนอาญา

การดำเนินคดีในส่วนอาญา

ความหมายของคดีอาญา
คดีอาญา หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับความผิดและมีโทษซึ่งกำหนดไว้ในประมวญกฎหมาย
อาญาและ กฎหมายอื่นๆ เช่นพระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีโทษทางอาญาเช่นความผิดตาม
พระราชบัญญัติอาวุธปืน พระราชบัญญัติจราจรทางบกเป็นต้นซึ่งโทษทางอาญานั้นมีอยู่
5 ประการด้วยกันคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขังปรับ และริบทรัพย์สินและประเภทของ
คดีอาญานั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือคดีอาญาแผ่นดินหรือคดีอาญา ที่ยอมความไม่ได้เช่น
คดีฆ่าคนตายหรือคดีลักทรัพย์ และคดีอาญาอีกประเภทหนึ่ง คือคดีอาญาที่เกี่ยวกับ
ความผิดต่อส่วนตัว หรือคดีอาญาที่สามารถยอมความกันได้ เช่นคดียักยอกทรัพย์ เป็นต้น

บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญา

บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีอาญาได้แก่
(1.) ผู้ต้องหา หมายถึง บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดอาญาแต่ยังมิได้ ถูกฟ้องร้อง
ต่อศาลและ จำเลย หมายถึงบุคคลที่ถูกฟ้องต่อศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำผิด
(2.) ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิด ฐานใดฐานหนึ่ง
รวมทั้งบุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทน เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์หรือ ผู้แทนของ
นิติบุคคล
(3.) พนักงานอัยการ หมายถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องจำเลยต่อศาล
(4.) พนักงานสอบสวน หมายถึงเจ้าพนักงานที่กฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ในการ
สอบสวน เช่น เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อย ตำรวจตรีหรือเทียบเท่า
นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

ความหมายของผู้ต้องหาและจำเลย

ผู้ต้องหา คือ ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
จำเลย หมายถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำควา ผิด และในการ
จับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดพนักงาน สอบสวนต้องถามปากคำเด็ก
หรือเยาวชนให้เสร็จภายในเวลา24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นไปถึงสถานที่
ทำการของพนักงานสอบสวน เมื่อถามปากคำแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งเด็ก หรือ
เยาวชน นั้นไป ควบคุมที่สถานพินิจฯ และพนักงานอัยการจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน
30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม ยกเว้นกรณี มีการขอผัดฟ้อง


การผัดฟ้อง

เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดครบ 30 วันแล้ว หากเกิด
ความจำเป็นไม่สามารถฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลได้ เช่น การสอบสวนยังไม่เสร็จ
หรือมีการสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม พนักงาน สอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี
ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้ สำหรับเวลาในการผัดฟ้องนั้น คดีที่มีอัตรา
โทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนด ไว้ให้จำคุกเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี สามารถ
ผัดฟ้องได้ 2 ครั้งครั้งละไม่เกิน 15 วันและคดีที่อัตราโทษอย่างสูงที่ อย่างสูงที่
กฎหมายกำหนด ไว้ให้จำคุกเกิน 5 ปี ขอผัดฟ้องได้รวม 4 ครั้ง ครั้งละ ไม่เกิน 15 วัน
และเด็กหรือเยาวชน ผู้ต้องหามีสิทธิตั้งที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อแถลงข้อคัดค้าน หรือซัก
ถาม พยาน ในการพิจารณาคำร้องขอ ผัดฟ้องได้

การต่อสู้คดีของจำเลย

เมื่อศาลประทับรับฟ้องแล้วหากจำเลยประสงค์จะต่อสู้คดีควรปฏิบัติดังนี้ คือ ยื่นคำร้อง
ขอประกันตัวต่อศาล ยื่นคำให้การต่อศาล และหาที่ปรึกษากฎหมายเพื่อต่อสู้คดี สำหรับ
บุคคล ที่สามารถเป็นที่ปรึกษากฎหมายได้นั้น คือผู้ที่เป็นทนายความ ตามกฎหมายว่าด้วย
ทนายความ หรือได้รับปริญญาทางกฎหมาย ไม่ต่ำกว่าชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และได้จดทะเบียนที่ปรึกษากฎหมายต่อศาลเยาวชนและครอบครัว แล้ว


ที่ปรึกษากฎหมาย

ในศาลเยาวชนและครอบครัว จำเลยในคดีอาญาจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่
จำเลยจะมีที่ปรึกษากฎหมายซึ่งปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับทนายความได้ และหากจำเลย
ไม่มีที่ปรึกษากฎหมายศาลจะแต่งตั้งที่ปรึกษาให้ เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการ และศาลเห็นว่า
ไม่จำเป็นแก่คดี กรณีที่ศาลแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้จำเลย ๆ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
และไม่ต้องเสียค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการใดๆ ให้แก่ที่ปรึกษากฎหมายทั้งสิ้น เว้นแต่
จำเลย ประสงค์จะหาที่ปรึกษากฎหมายเอง จำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง


การให้การต่อศาล

เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว ก่อนที่ศาลพิจารณาคดีต่อไปศาลจะอ่านและอธิบายฟ้อง
ให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จำเลยจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้
หากจำเลยไม่ให้การถือว่าจำเลยปฏิเสธ จำเลยที่ประสงค์จะให้การ ควรปฏิบัติดังนี้คือ
ถ้าจำเลยกระทำผิดจริงควรให้การรับสารภาพต่อศาล เพราะการรับสารภาพเป็นเหต ุ
บรรเทาโทษอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยปกติศาลจะปรานีลดโทษให้ อันเป็นผลดีแก่จำเลย ที่จะ
ได้รับโทษในสถานเบาและถ้าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือประสงค์จะต่อสู้คดี ควรให้การ
ปฏิเสธความผิด ส่วนการให้การในรายละเอียดอย่างใดจึงจะเป็นผลดีแก่จำเลยควร
ปรึกษาที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งมีคดีบางประเภทกฎหมายยกเว้นโทษให้ บางกรณี
กฎหมายถือว่าไม่เป็นความผิด บางกรณีกฎหมายถือว่าเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ
หรือในบางกรณีกฎหมายให้อำนาจศาลที่จะลงโทษน้อยกว่าโทษที่บัญญัติไว้ ใน
กฎหมาย ดังนั้นจำเลยจะให้การอย่างไรเพื่อให้ได้รับประโยชน์ ตามเงื่อนของกฎหมาย
ควรจะปรึกษาที่ปรึกษากฎหมาย

อายัดเงินเดือนอันตรายเตรียมตัวไว้

อายัดเงินเดือนอันตรายเตรียมตัวไว้

ลูกหนี้ส่วนใหญ่จะทำงานมีเงินเดือนกันแทบทุกคน .. (นอกจากลูกหนี้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจ-กิจการ)
.. ลูกหนี้ส่วนใหญ่มักจะกลัวเจ้าหนี้มาอายัดเงินเดือนจนตัวเองไม่มีเงินเดือนเหลือใช้ความกลัวที่จะถูก
เจ้าหนี้อายัดเงินเดือนจึงเป็นจุดอ่อนของลูกหนี้ .. เจ้าหนี้ทนายของเจ้าหนี้ หรือพนักงานทวงหนี้รู้จุด
อ่อนนี้จึงพยายามข่มขู่ลูกหนี้ " ถ้าไม่ใช้หนี้ก็จะฟ้องอายัดเงินเดือนให้หมดเลย " หรือ บางครั้งทนาย
เจ้าหนี้ก็จะส่งหนังสือบอกกล่าวทวงหนี้มา " ถ้าไม่ใช้หนี้ตามที่กำหนด ฟ้องคดี ..ยึดทรัพย์สิน. อายัด
เงินเดือน ".. ลูกหนี้บางคนพอเจ้าหนี้หรือทนายเจ้าหนี้บอกมาแบบนี้ ก็จะกลัวจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ
(ขี้หด ตดหาย ) .. บางคนถึงกับคิดจะลาออกจากงานเพื่อหา งานทำใหม่ ( เรารู้สึกเห็นใจลูกหนี้ทุกคน
แต่ขอบอกเอาไว้เลยว่า อย่าคิดลาออกและหางานใหม่เลยเสียเวลาเปล่าๆ )
อันที่จริงแล้วถ้าลูกหนี้รู้กฎหมายเกี่ยกับเรื่องอายัดเงินเดือนแล้ว รับรองได้ว่า ไม่ต้องเปลี่ยนงานไม่
ต้องกลัวคำขู่เจ้าหนี้ว่าจะอายัดเงินเดือนไม่ว่าลูกหนี้จะมีเจ้าหนี้ร้อยรายพันรายก็ตาม( โดยเฉพาะ
ลูกหนี้ บัตรเครดิต )
มารู้กันว่าจะมีช่องทางของกฎหมายอย่างไร
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๘๖ บัญญัติไว้ว่า
แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘
.... ลูกหนี้ที่ทำงานมีเงินเดือนจะมีอยู่ ๒ ประเภทตามกฎหมาย คือ
๑ . ข้าราชการ
๒ . พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัททั่วๆไป
.... ทั้ง ๒ ประเภทนี้ กฎหมายให้ทำการอายัดเงินเดือนได้ต่างกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพ่งมาตรา ๒๘๖ บัญญัติไว้
๑ . ข้าราชการ .. เจ้าหนี้ไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ .. ได้แต่ทรัพย์สินที่มีราคารวมกันไม่เกิน ๕๐,๐๐๐
บาทไม่ได้เลย เกินกว่านี้ยึดได้ และอายัดเงินในบัญชีธนาคารเท่านั้น( ดูคำพิพากษาฎีกาที่นี่ )
๒ . พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัททั่วๆไป
... ๒ . ๑ เจ้าหนี้อายัดเงินผู้มีเงินเดือนไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทไม่ได้เลย .. แต่ถ้ามีเงิน เดือนเกิน ๑๐,๐๐๐
บาทเจ้าหนี้อายัดได้( แต่ไม่ได้ทั้งหมด ) เกินกว่า ๑๐,๐๐๐ บาทอายัดได้
... ๒ . ๒ เจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีราคารวมกันไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ไม่ได้เลย เกินว่านี้ยึดได้
และอายัดเงินในบัญชีธนาคารได้ ( ดูคำพิพากษาฎีกาที่นี่ )
.... ทำไมกฎหมายจึงกำหนดไว้แต่ต่างกันทั้งๆ ก็เป็นลูกหนี้เหมือนกัน .. อันที่จริงเจ้าหนี้มักจะไม่รู้
วิธียึดเงินเดือนของลูกหนี้ที่รับราชการ ถ้าเจ้าหนี้รู้วิธีที่จะยึดเงินเดือนข้าราชการรับรองได้ว่า ไม่ว่า
ลูกหนี้คนนั้นจะเป็นอธิบดีกรมใด หรือปลัดกระทรวงใด จะไม่เหลือเงิน เลยสักบาทเดียว หนักกว่าลูก
หนี้ทั่วๆ ไปอีก แถมอาจจะโดนข้อหาโกงเจ้าหนี้ด้วย ... ดังนั้น ข้าราชการที่ทนงตัวว่าไม่มีเจ้าหนี้
คนไหน จะมาอายัดเงินเดือนได้ ก็ขอให้ระวังตัวให้ดีๆ นะ .. (ถึงกับออกจากราชการเชียวนะถ้ารู้ว่า
มีเคยคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับ เรื่องนี้มาแล้ว) .. ที่เตือนข้าราชการไว้แบบนี้ก็เพราะบางคนไม่รู้กฎหมาย
อย่างแท้จริงเพียงแต่รู้ตัวบทกฎหมาย หรือสอบถามจากเพื่อนๆ เท่านั้น .. ถ้าอยากจะรู้เจ้าหนี้จะมีวิธีใด
ที่จะยึดเงินเดือนข้าราชการได้ .. ท่านต้องไปดูในข้อมูลสมาชิก VIP รับรองได้ ท่านอาจน้ำตาตกถ้าเจอ
ทนายเจ้าหนี้ที่รู้วิธียึดเงินเดือนข้าราชการตามกฎหมาย ( เอาไว้เป็นสมาชิก VIP ถึงจะมีโอกาสดูตัวบท
กฎหมาย และคำพิพากษา ฎีกาที่เกี่ยวข้อง )
..... ลูกหนี้ที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท .. ลูกหนี้ประเภทนี้เจ้าหนี้ชอบมากที่จะปล่อย
เงินให้กู้ หรือให้สินเชื่อเครดิต ( บัตรเครดิตต่างๆ ) เพราะกฏหมายบัญญัติไว้ให้อายัดเงินเดือนได้
.. เรื่องนี้เจ้าหนี้ทุดคน ทนายเจ้าหนี้ก็รู้ดี ( เราจึงเห็นใจลูกหนี้ ประเภทนื้มาก ) ... เพราะลูกหนี้ประเภท
นี้มักจะมี เจ้าหนี้มากมาย และเจ้าหนี้ก็มักจะชอบขู่ลูกหนี้ประเภทที่ ๒ นี้เสมอๆ. เมื่อเจ้าหนี้ทุกรายมา
ทำการ อายัดเงินเดือนก็ยอมให้เขาอายัดเงินเดือนทั้งหมด ซึ่งถ้าลูกหนี้รู้กฎหมายและรู้วิธีการที่จะไม่
ให้เจ้าหนี้อายัดเงินเดือนทั้งหมดได้ ก็จะทำให้เจ้าหนี้นั่งน้ำตาตกบ้าง .. แล้วทำอย่างไรละที่จะรู้วิธีไม่
ให้เจ้าหนี้ทุกรายอายัดเงินเดือนทั้งหมดได้ .. ขอให้อ่าน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๘๖ บัญญัติไว้ ให้ดีๆ อ่านสัก ๑๐ รอบ แล้วจะรู้วิธี .. รับรองได้ว่าลูกหนี้ประเภท ที่ ๒ นี้
จะมีเงินเดือนเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้เหมือนเดิม .. และเจ้าหนี้ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้อีก
นอกจากตามยึดทรัพย์สินส่วนตัว ในเรื่องการยึดทรัพย์สินส่วนตัวขอให้ลูกหนี้ไปดูในเรื่อง " เจ้าหนี้
ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้ " ที่นี้ละลูกหนี้ก็ล้มบนกองฟูกกินก็อิ่ม .. นอนก็หลับสบายไม่ต้องลาออกจาก
งานหนีหนี้ไปหางานใหม่
มาดูวิธีที่จะไม่ให้เจ้าหนี้อายึดเงินเดือนทั้งหมดไปใช้หนี้ตามคำพิพากษา
.... เมื่อเจ้าหนี้ชนะคดีแล้วก็จะทำเรื่องขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อมาทำการอายึดเงินเดือน
ลูกหนี้ .. โดยที่เจ้าหนี้จะต้องแจ้งด้วยว่า ลูกหนี้มีเงินเดือนเท่าไร ทำงานอยู่ที่ไหน .. จากนั้นเจ้าพนัก
งานบังคับ คดีก็จะส่งหนังสือไปทำการอายัดเงินเดือนกับบริษัทที่ลูกหนี้ทำงาน โดยกำหนดจำนวน
เงินที่จะต้องหัก และนำส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดี .. โดยส่วนใหญ่แล้วก้จะให้หักเงินของลูกหนี้
ส่งมาให้ประมาณ ๔,๒๓๐ บาท .. แต่บางครั้ง เจ้าพนักงานอาจจะใช้อัตราเงินเดือนข้าราชการพล
เรือน คือ ๗,๔๘๐ ซึ่งก็ทำได้ตามกฎหมาย เพราะถือว่าอยู่ในอำนาจที่จะทำได้ ( แต่ถ้าเจ้าพนักงาน
บังคับคดีที่มีความเป็นธรรมจริงๆ จะหักให้แค่ ๔,๒๓๐ บาท )
... ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีให้หักเงิน ๗,๔๘๐ บาท หรือน้อยกว่านั้น ลูกหนี้ก็สามารถร้องขอให้ลด
ลงมาได้อีก โดยยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้เหตุผลตามความจำเป็น " ฐานะในทาง
ครอบครัว ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการี และผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะ "
. ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมตามที่ลูกหนี้ร้องขอ ( แถมพูดขู่มาด้วย ) .. ลูกหนี้ก็ไม่ต้องกลัวหรือ
กังวนใจแต่อย่างใด เพราะกฎหมายยังบอกอีกว่า มาตรา ๒๘๖ วรรคสาม " ในกรณีที่เจ้าพนักงาน
บังคับคดีมีอำนาจ ออกคำสั่งอายัดตามมาตรา 311 วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจ
กำหนดจำนวนเงิน ตาม (1) (3) และ (4) และให้นำ ความ ในวรรคสองมาใช้บังคับแก่การกำหนด
จำนวนเงินตาม (1) และ (3) โดยอนุโลม ... แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีไม่เห็นด้วย กับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับ
คดีกำหนด บุคคลดังกล่าว อาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกำหนด
จำนวนเงิน เช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ได้ "( นี้ละครับที่ผมบอกว่า " กฎหมาย
ยังให้ความเป็นธรรม ถ้าเรารู้เราก็ได้เปรียบเจ้าหนี้ ส่วนเจ้าหนี้จะนั่งน้ำตาตกได้อย่างไรอ่านจบแล้ว
จะรู้ครับ )
.... เมื่อรู้ว่ามาตรากฎหมายบัญญัติไว้ให้เจ้าหนี้สามารถอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ได้ แต่ไม่ใช้ว่าเจ้าหนี้
จะอายัด เงินเดือนได้ทั้งหมดเพราะกฎหมายบัญญัติในวรรคสอง " ในการกำหนดจำนวนเงินตาม (1)
และ (3) ให้ศาลกำหนดให้ไม่น้อยกว่าอัตราเงินเดือน ขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้นทั้ง
นี้โดยคำนึง ถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการี และผู้สืบสันดาน
ซึ่งอยู่ในความอุปการะของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย " .. หมายความว่า เจ้าหนี้สามารถอายัดเงิน
เดือนได้ แต่ให้ศาล กำหนดไม่น้อยกว่าอักตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือน และฐานะทาง
ครอบครัวด้วย ... เงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการ ณ ปัจจุบัน คือ ( ดูบัญชีเงินเดือนข้าราชการขั้นต่ำที่
๔,๒๓๐ บาท) และฐานะทางครอบครัวที่ต้องใช้จ่ายเลี้ยงดู ๑๐,๐๐๐ บาท ศาลก็ต้องเอามาพิจารณา
... ตัวอย่าง
เป็นหนี้ตามคำพิพากษา ๕๐,๐๐๐ พร้อมดอกหลังคำพิพากษาอีกร้อยละ ๑๐ ต่อปี มีเงินเดือน
๑๒,๐๐๐ บาท ต้องมีภาระทางครอบครัว ลูก ส่งให้พ่อแม่ ค่าใช้จ่ายภายในบ้านเดือนละ ๑๐,๐๐๐
บาท เมื่อถูกอายัดเงินเดือนก็จะต้องถูกหักเงินใช้หนี้ตาม คำพิพากษาเดือนละ ๔,๒๓๐ บาท แต่
เนื่องจาก ลูกหนี้มีภาระทางครอบครัวต้องใช้จ่ายเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท มีเงินให้หักเพียง ๒,๐๐๐
บาท..... ซึ่งศาลอาจจะพิจารณาให้หักเพียง ๒,๐๐๐ บาทก็ได้ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า " ทั้งนี้
คำนึงถึงฐานะในทาง ครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการี โดยและผู้สืบสันดาน
ซึ่งอยู่ในความอุปการะของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย " ซึ่งศาลจะเป็นผู้ใชดุลพินิจพิจารณาเองตาม
ข้อเท็จจริง.. แต่ข้อสำคัญลูกหนี้ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลด้วยว่า ตัวลูกหนี้เองมีเหตุจำเป็นทางครอบ
ครัวอย่างไรตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
.... จากตัวอย่างทำให้เห็นว่ากฎหมายยังให้ความยุติธรรม และศาลยังมีความปราณีกับลูกหนี้เสมอ
เจ้าหนี้รายอื่นๆ จะอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้
ผมบอกแล้วว่า " กฎหมายยังให้ความยุติธรรมกับลูกหนี้เสมอ " แม้ลูกหนี้จะมีเจ้าหนี้ร้อยราย
.. เมื่อเจ้าหนี้รายใดอายัดเงินเดือนไว้ก่อนแล้ว เจ้าหนี้รายหลังๆ จะมาอายัดเงินเดือนซ้ำอีกไม่ได้เด็ด
ขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๙๐ ซึ่งเจ้าหนี้ หรือทนายของเจ้าหนี้
จะทำการอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ .. เจ้าหนี้ได้แต่ขอเฉลี่ยเอาจากเจ้าหนี้รายแรก โดย
ยื่นคำร้องขอเข้ามาภายใน ๑๔ วัน หรือจะอายัดได้ต่อเมื่อเจ้าหนี้รายแรกถอนการอายัด เงินเดือน
ของลูกหนี้ไปแล้วเท่านั้น
เมื่อเจ้าหนี้อายัดเงินเดือนลูกหนี้ไม่ได้แล้ว เจ้าหนี้จะทำอย่างไร
.... เมื่อเจ้าหนี้อายัดเงินเดือนลูกหนี้ไม่ได้ เจ้าหนี้ก็จะหันไปใช้วิธียึดทรัพย์อื่น ของลูกหนี้ต่อไป
( ขอให้ไปดูเรื่องเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ลูกหนี้ไม่ได้นะครับ )
ทำอย่างไรจะไม่ใช้หนี้เจ้าหนี้รายอื่นๆ
.... เมื่อลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นๆ แล้วนอกจากเงินเดือน .. เจ้าหนี้รายอื่นๆ ก็ต้องรอคิวอายัดเงินเดือน
ต่อจากเจ้าหนี้รายที่อายัดก่อนหน้าตามกฎหมาย ... และอายุความเรื่องการบังคับคดียึดหรืออายัด
ทรัพย์สินของ ลูกหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ว่า เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับยึด
ทรัพย์สินของลูกหนี้ภายในเวลา ๑๐ ปี นับแต่วันสิ้นคำบังคับ หรือวันที่ลูกหนี้ไม่ใช้หนี้ตาม
คำพิพากษา
.... ดังนั้นถ้า ลูกหนี้มีเจ้าหนี้ ๒๐ ราย ๆ ละ ๕๐,๐๐๐ บาท รวมหนี้ทั้งหมด ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ต้องแบ่งชำระเป็นให้เจ้าหนี้เป็นรายๆ ดังนี้ ... ตัวอย่าง
.. ตามตัวอย่างแรก เจ้าหนี้รายแรกอายัดเงินเดือนและศาลให้หักเงินเดือนชำระหนี้เดือนละ ๒,๐๐๐
บาท ต้องหักทั้งหมด ๒๕ เดือน จึงระครบ ๕๐,๐๐๐ บาท
. เจ้าหนี้รายที่ ๒ ก็มาอายัด เงินเดือนต่อและศาลก็ให้ใช้หัก ใช้หนี้อีกเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ต้อง
หักทั้งหมด อีก ๒๕ เดือน จึงจะครบหนี้ ... เมื่อรวมกับเจ้าหนี้รายแรกเป็น ๕๐ เดือน
.... เจ้าหนี้รายที่ ๓ ก็มาอายัดเงินเดือนอีก และก็หักแบบเดียวกับเจ้าหนี้รายที่ ๒ ก็ต้องใช้เวลาอีก ๒๕
เดือน จึงจะครบหนี้ .. เมื่อรวมกับ เจ้าหนี้รายที่ ๒ เป็น ๗๕ เดือน
.... เจ้าหนี้รายที่ ๔ ก็เช่นเดียวกันกับเจ้ารายที่ ๓ ต้อหักอีก ๒๕ เดือน ... เมื่อรวมกับเจ้าหนี้รายที่ ๓
เป็น ๑๐๐ เดือน
..... เจ้ารายที่ ๕ ก็เช่นเดียวกับเจ้าหนี้รายที่ ๔ .. แต่ เจ้าหนี้รายที่ ๕ สามารถหักได้แค่ ๒๐ เดือนเท่า
นั้น เหลืออีก ๕ เดือนเจ้าหนี้ไม่สามรถ ที่จะหักเงินเดือนของลูกหนี้อีกต่อไปได้ เพราะ กฎหมายกำหนด
เอาไว้แล้วว่าจะบังคับลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้แค่ ๑๐ ปีเท่านั้น.เมื่อรวมกับเจ้าหนี้รายที่ ๔ เป็น ๑๒๕
เดือน เกิน มา ๕ เดือน จึงหักในส่วนที่เกินไม่ได้ ( แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับวันที่ศาลพิพากษา และส่งคำ
บังคับเป็นหลักด้วย )
..... เมื่อเจ้าหนี้รายที่ ๕ ไม่สามารถหักเงินเดือนได้ครบเพราะอายุความของกฎหมายมาตรา ๑๙๓/๓๒
แล้ว เจ้าหนี้รายอื่นๆ ก็ไม่สามารถที่จะอายัดเงินเดือนได้อีกต่อไปเพราะหมดอายุความ ๑๐ ปีแล้ว
..... ดังนั้นเท่ากับลูกหนี้ใช้หนี้ให้เจ้าไปทั้งหมด ๔ รายกว่าๆ เป็นเงินรามทั้งสิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท
ส่วนที่เหลือหนี้อีก ๗๖๐,๐๐๐ บาท ลูกหนี้ไม่ต้องใช้ให้เจ้าหนี้อีกต่อไปแล้ว โดยผลของกฎหมาย
.... ตามตัวอย่างนี้ ... ลูกหนี้ก็ไม่ต้องใช้หนี้เจ้าหนี้ที่ฟ้องคดีอีกต่อไปแล้ว .. โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกหนี้
ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต ต้องดีใจ กินอิ่มนอนหลับ ไม่ต้องพะวงว่าจะถูกฟ้องถูกยึดเงินจนหมดตัว ถึงขั้น
ต้องเตรียมตัวหนี้หรือลาออกจากงานอีกต่อไปแล้ว ... เงินเดือนก็มีเหลือใช้ แต่มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่ง
คือ ลูกหนี้ต้องติดแบลคลิส ( ถูกขึ้นบัญชีดำ ) .. แต่ลูกหนี้คงไม่สนใจเรื่องบัญชีดำแน่นอน .. ได้เงิน
มาใช้ฟรีๆ ตั้งหลายแสน ... ลูกหนี้บางคนได้มาเป็นล้านก็มี ... และอย่างนี้ไม่เรียกว่า " เอากฎหมาย
ตบหน้าเจ้าหนี้ แล้วจะเรียกว่าอะไรครับ " .. นี้เป็นเพียงการล้มบนกองฟูกตามกฎหมายอีกวิธีหนึ่ง
เท่านั้น .. ยังมีวิธีล้มบนกองฟูกอีกมากมาย โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ทำธุรกิจใหญ่โต กู้เงินธนาคารหลาย
สิบหลายร้อยล้าน .. ก็ยังไม่ต้องใช้หนี้ได้เช่นกัน ( แต่ไม่ใช่วิธีนี้เท่านั้นนะครับ )
.... ผมกล้าพูดได้เต็มปากว่า " ไม่มีนักกฎหมายท่านไหน ที่จะบอกเล่าวิธีการแบบนี้ให้กับลูกหนี้ หรือ
ท่านสมาชิกทางเว็บอีกแล้ว ถึงจะมี ก็คงน้อยมาก หรืออาจจะลอกเรียนแบบเว็บของผมได้ก็เป็นไป
ได้เรื่องนี้ไม่ว่ากัน ขอให้ลูกหนี้ได้รับประโยชน์สูงสุดผมก็ดีใจแล้ว..จะได้ ลูกหนี้ทุกคน ไม่ให้ถูก
เจ้าหนี้เอารัดเอาเปรียบทางกฎหมายอีกต่อไป สังคมจะได้เจริญขึ้น "
.... แต่ถ้า ลอกเอาไปแล้วและไปเรียกเก็บเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ อีก ผมคงต้องฟ้องเรียกค่าเสีย
หายตามพระราชบัญญัติสิขสิทธิสัก ๑๐ ล้านคงจะดี
ลูกหนี้รู้แล้วก็อย่าเที่ยวเอาไปใช้ในทางที่ผิดๆ ละครับ
....ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางหลักของลูกหนี้ที่จะไม่ต้องใช้หนี้เท่านั้น ในรายละเอียดเกี่ยวกับการ
ทำคำร้องต่างๆ หรือการตกลงใดๆ ในศาล ควรปรึกษาทนายหรือนักกฎหมายจะดีกว่า เพราะยัง
มีรายละเอียดและวิธีที่เกี่ยวข้องอีกพอสมควร ... ที่บอกเล่ามาแต่แรกนี้ก็เพื่อ ให้ลูกหนี้รู้ช่องทาง
ของกฎหมาย จะได้มีอาวุธทางกฎหมายไว้ป้องกันตัว " รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง "
... ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

ประนีประนอมยอมความหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว

ประนีประนอมยอมความหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว
...........เมื่อศาลพิพากษาแล้ว ... จะเข้าสู่ชั้นบังคับคดี คู่กรณีที่แพ้คดีก็อาจประนีประนอมยอมความกันได้อีก
โดยอาศัยหลักกฎหมายแพ่งเรื่องประนีประนอมยอมความ และการแปลงหนี้
.... ... ถ้าตกลงกันได้ฝ่ายที่ชนะคดี อาจของดการบังคับคดีไว้ก่อนได้ ตามปวิพ. ๒๙๒ ( ๓ ) หรือสล ะสิทธิการ
บังคับคดี ตามปวิพ ๒๙๕ ( ๒ )
........ ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องบังคับคดีกันต่อไป
.... ... ในชั้นนี้ฝ่ายแพ้คดีจะเสียเปรียบมาก .. เพราะเจ้าหนี้หรือทนายของเจ้าจะทำตัวยิ่งใหญ่มาก ( มีคำ
พิพากษาอยู่ในมือ )

.........แต่ถ้าฝ่ายแพ้คดีหลบเจ้าหนี้เก่ง ...เจ้าหนี้ก็ทำอะไรไม่ได้ .... ข้อนี้ควรระวังของฝ่ายแพ้คดีคือ ถ้าหลบ
เจ้าหนี้ไม่ดี อาจติดคุก ฐานโกงเจ้าหนี้ได้ ป อ. ๓๔๙ - ๓๕๑....แต่ถ้าฝ่ายแพ้คดีหลบแบบถูกกฎหมาย ก็รอดตัวไป
เรียกว่า " ล้มบนกองฟูก " ..... เจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินอะไรไม่ได้เลย ...ถึงแม้จะมีคำพิพากษาก็ตาม . ลูกหนี้
สามารถที่จะเดินไปเยาะเย้ยฝ่ายชนะคดีได้ .... ถ้าหลบได้ถึง ๑๐ ปีหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้
จะมายึดทรัพย์ฝ่ายแพ้อีกไม่ได้เลย ตามปวิพ มาตรา ๒๗๑

.........แต่ก่อนจะหมดอายุความ ๑๐ ปี .. ฝ่ายชนะคดีจะมีกลเม็ดต่างๆ มาหลอกฝ่ายแพ้ให้ทำประนีประนอม
หรือแปลงหนี้ ถ้าฝ่ายแพ้หลงกลยอมแปลงหนี้ หรือประนีประนอมโดยมีหลักประกันใหม่ ... ฝ่ายชนะคดีก็
จะฟ้องคดีได้ใหม่อีก โปรดระวังกันไว้ให้ดี
......... หลักการประนีประนอมยอมความนี้ ..สามารถนำไปใช้ได้กับทุกหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าหนี้
หรือฝ่ายลูกหนี้

ดูมาตรา

มาตรา 292 เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการบังคับคดีไว้ในกรณี ต่อไปนี้
(1) ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดได้กระทำไปโดยขาดนัด และได้มีการขอให้บังคับคดี
ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่
เมื่อศาลได้ส่งคำสั่งให้งดการบังคับคดีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา 209 แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ในอันที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่ง
กำหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควร
(2) ถ้าศาลได้มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ เมื่อศาลได้ส่งคำสั่งนั้นไปให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีทราบ ในกรณีเช่นนี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะ
เวลาหรือเงื่อนไขตามที่ศาลจะได้กำหนดไว้
(3) ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานบังคับว่าตนตกลง
งดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะที่กำหนดไว้หรือภายในเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง
(4) เมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามข้อความแห่งมาตรา 54
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวงดการบังคับคดีนั้น ให้แก่เจ้าหนี้ตาม
คำพิพากษาและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสีย เว้นแต่จะได้งดการบังคับคดีตามคำขอ
ของบุคคลเหล่านั้นเอง


มาตรา 295 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณี ต่อไปนี้
(1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเอง หรือถอนโดยคำสั่งศาล
แล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับ
คดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดี หรือ
ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีหรือได้หาประกันมาจนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับ
จำนวนเงินเช่นว่านี้
(2) ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นหนังสือว่า
ตนสละสิทธิในการบังคับคดีนั้น
(3) ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดี
ได้ถูกยกเลิกเสีย เมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี
แต่ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้น ได้ถูกกลับแต่เพียงบางส่วน การบังคับคดี
อาจดำเนินต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา


ประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 4
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

มาตรา 349 ผู้ใดเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์
ซึ่งทรัพย์อันตนจำนำไว้แก่ผู้อื่น ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 350 ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่
บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือ
โอนไปให้ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 351 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

5 ข้อควรจดจำ ช่วยทำให้ตั้งตัว คุณก็ทำได้

5 ข้อควรจดจำ ช่วยทำให้ตั้งตัว คุณก็ทำได้
1. วางแผนให้ดี ทำบัญชีเป็นนิจ
ก่อนจะใช้จ่ายแต่ละเดือน ควรมีการวางแผนไว้ให้ดี เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายต่างๆ จะได้รู้ว่า เงินหมดไปกับอะไรบ้าง พร้อมทั้งฝึกจดจำและทำบัญชีให้เป็นนิสัย เพราะจะช่วยให้เราตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้
2. ต้องมีวินัย จิตใจเด็ดเดี่ยว
เมื่อคิดจะตั้งตัวก็ควรตั้งใจให้มั่น เช่น กำหนดไปเลยว่าจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อเป็นเงินออมทุกเดือน ก็ควรทำให้ได้ทุกเดือน และต้องมีใจเด็ดเดี่ยวไม่เผลอไผลไปกับสิ่งฟุ่มเฟือย เมื่อทำได้ก็จะภาคภูมิใจ กับเงินออมของตนที่ค่อย ๆ เพิ่มพูนขึ้นทีละน้อย
3.แม้เงินนิดเดียวก็ออมได้
อย่าท้อใจว่ามีเงินน้อย เพราะหากคุณมีเงินเพียงหนึ่งบาท ก็สามารถออมได้ ถ้าตั้งใจจริงและรู้จักใช้ รู้จักเก็บ ไม่นานเงินเพียงหนึ่งบาทก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นหลักร้อยหลักพันในที่สุด
4.ค่อยเป็นค่อยไปอย่าใจร้อน
การออมเงินก็เหมือนการปลูกต้นไม้ จะให้โตภายในข้ามคืนคงเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ต้นกล้าที่เราเฝ้าเอาใจใส่ก็จะค่อย ๆ เติบโตจนออกดอกออกผลให้เราเก็บกินได้อย่างภาคภูมิใจ
5. ยิ่งออมก่อน ยิ่งได้เปรียบ
การออมเงินเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลา ดังนั้นเมื่อใครเริ่มออมได้ไว ยิ่งนานเท่าไร เงินออมที่เก็บไว้ ยิ่งทวีค่าขึ้นตามระยะเวลา ดังนั้นเราควรเริ่มฝึกนิสัยให้รักการออมเสียตั้งแต่วันนี้ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง ยิ่งออมไวยิ่งได้เปรียบ

ขั้นตอนของการสรรหาบุคลากร ที่ดีสำหรับนักบริหาร

ขั้นตอนของการสรรหาบุคลากรที่ดีสำหรับนักบริหาร


1. วางแผนความต้องการด้านกำลังคน (Manpower Planning)
การดำเนินงานทางธุรกิจไม่เพียงแค่หวังผลสำเร็จในระยะสั้นเท่านั้น แต่ต้อง คำนึงถึงความอยู่รอดของธุรกิจในอนาคต การใช้ทรัพยากรด้านคน ซึ่งเป็นหัวใจของการดำเนินงานจึงต้องมีการกำหนดสำหรับอนาคตด้วย การวางแผนระยะยาวสำหรับความต้องการทางด้านกำลังคนของแต่ละองค์กรจึงเป็นสิ่ง ที่จำเป็น และเพื่อเป็นการส่งเสริมด้านการสรรหาคนให้ทันและพอแก่ความต้องการ จะได้ไม่เกิดการขลุกขลักขึ้นเมื่อมีตำแหน่งว่างลง เช่น พนักงานลาป่วย ลาออก เกษียณอายุ หรือเสียชีวิต แต่อย่างไรก็ตามองค์กรก็จำต้องมีแผน กำลังคนที่ไม่เฉพาะเพียงแต่ในด้านที่เพิ่มเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงในด้านลดด้วย สำหรับการกำหนดกำลังคนทดแทนนั้นปกติมักจะคำนวนเป็นร้อยละของกำลังคนทั้งหมดขององค์กรในแต่ละปี ดังนั้นกำลังคนทดแทนและที่เพิ่มขึ้น จะเป็นเท่าใดจึงขึ้นอยู่กับความแปรเปลี่ยนมากหรือน้อยของปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว


2. การคาดคะเนถึงจำนวนคนที่ต้องการ (Estimating quantity and type of employees needed)
การคาดคะเนถึงจำนวนและประเภทของคนที่องค์กรต้องการ เป็นความจำเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ควรกระทำก่อนการสรรหาบุคคล เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่า แผนกใดในองค์กร ต้องการ พนักงานจำนวนเท่าใด ในตำแหน่งอะไร ต้องการคนที่มีคุณสมบัติอะไรบ้าง โดยพิจารณาดูจากคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) และคุณสมบัติของบุคคลที่ดำรงตำแหน่ง (Job Specification)


3. ดำเนินการสรรหา (Recruitment)
ด้วยการพิจารณาถึง แหล่งการจ้างงาน , วิธีการติดต่อสื่อสาร และ การดำเนินการรับสมัคร ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดดังนี้
3.1 แหล่งของการจ้างงาน (Sources of Employees) โดยทั่วไปแล้ว แหล่งของการจ้างงาน จะแบ่งออกเป็นสองแหล่งคือ ภายในองค์กร (internal) และ ภายนอกองค์กร (external)
3.2 วิธีการติดต่อสื่อสาร (Communication Methods) การสื่อสารข้อความใด ๆ ก็ตามที่จะก่อให้เกิดความสนใจแก่บุคคล ตามที่เราต้องการนั้น จำต้องมีเทคนิคบางประการ ดังนั้นการติดต่อสื่อสาร เพื่อการสรรหาบุคคลได้ผล ต้องคำนึงถึงด้านต่าง ๆ ดังนี้
การที่จะสื่อสารไปยังแหล่งใดนั้น ต้องดูว่าองค์กรต้องการพนักงานประเภทใด เพื่อให้การติดต่อสื่อสารนั้นประสบผลสำเร็จอย่างแท้ จริง เช่น ถ้าต้องการจ้างสตรีที่มีความชำนาญด้านเลขานุการ ก็ควรจะโฆษณาในวรสารสตรีสาร มากกว่าวารสารมวย เป็นต้น
การประกาศรับสมัครงาน ปกติควรกำหนดระยะเวลาให้นานพอสมควร เพื่อให้บุคคลต่าง ๆ มี โอกาสทราบทั่วกัน และมีเวลาพอแก่การพิจารณาตัดสินใจว่า จะสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ หรือไม่
คำที่ใช้ในประกาศโฆษณา ควรเป็นที่ดึงดูดให้ผู้อ่าน หรือผู้ฟังสนใจโดยพยายามเน้นถึงผลประโยชน์ โอกาสก้าว หน้าหรือสวัสดิการอื่น ๆ ที่พึงจะได้รับเมื่อเข้ามาทำงานกับองค์กรแห่งนี้ บางครั้งองค์กรอาจเชิญชวนให้ผู้สนใจ ได้ไปชมกิจการของตนเสียก่อน เพื่อให้เกิดความสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้คนมาสมัครงานกับองค์กร มากขึ้น
ประชาสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่สนใจ โดยช่วยตอบปัญหา ข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการสมัคร
จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกิจการขององค์กร สำหรับแจกแก่ผู้มาเยี่ยมชมกิจการหรือผู้ที่สนใจ
ส่งตัวแทนของ องค์กร ไปติดต่อ ให้คำแนะนำแก่นักศึกษา ตามสถาบันการศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาในปีนั้น เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงความต้องการขององค์กร ซึ่งเป็นการเสนอตลาดแรงงานแก่นักศึกษา
3.3 การดำเนินการ รับสมัคร กระบวนการสรรหาบุคคลขั้นต่อไปคือ การรับสมัคร ในขั้นนี้มีเทคนิคบางอย่าง ที่จะช่วยให้ทางองค์กรได้รับข้อเท็จจริงได้มากที่สุด การได้ข้อเท็จจริงมากเท่าใด ก็จะทำให้องค์กรสามารถคัดเลือกคนได้ดีเท่า นั้น การรับสมัครจึงต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
แบบฟอร์ม เป็นส่วนสำคัญที่จะได้ข่าวสารและข้อเท็จจริงจากผู้สมัคร ดังนั้น การออกแบบฟอร์ม จึงต้องให้กะทัดรัด ข้อความชัดเจนไม่คลุมเครือ และมีช่องให้กรอกรายการต่าง ๆ ตามที่องค์กรต้องการให้ครบถ้วน
สถานที่ ควรจะเป็นสถานที่ที่ผู้สมัครไปได้สะดวก และควรแจ้งให้ผู้สมัครทราบอย่างชัดเจน การรับสมัครส่วนใหญ่ก็เป็นสถานที่ที่องค์กรตั้ง อยู่ แต่บางแห่งก็ให้ส่งใบสมัครไปยังตู้ไปรษณีย์ โดยมิได้แจ้งชื่อขององค์กรหรือชื่อของบริษัทเลย ซึ่งวิธีการถึงแม้จะสะดวก แต่ก็มีข้อเสียอยู่ว่า บุคคลในองค์กรที่รับสมัครอาจจะไปสมัครกันเอง หรือเมื่อมีผู้สมัครมาแล้วพบว่า เป็น องค์กรที่ไม่มีชื่อเสียงหรือไม่ต้องการทำงานนั้นจะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นจึงควรแจ้งชื่อขององค์กรหรือบริษัทเพื่อให้ผู้สมัครได้รับทราบ ก็เป็นการช่วยให้ผู้สมัครและองค์กรไม่เสียเวลา
เวลา การ รับสมัครควรจะกำหนดเวลาให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้สมัครทราบว่าตนจะได้สมัครได้ภายในกำหนดระยะเวลาใดบ้าง
หลักฐานต่าง ๆ ปกติการรับสมัคร ผู้สมัครต้องยื่นหลักฐานต่าง ๆ ให้ครบตามที่องค์กรต้องการ ดังนั้น องค์กรควรกำหนดให้ชัดว่าต้องการหลักฐานอะไรบ้าง เช่น รูปถ่าย สำเนาทะเบียนบ้าน ใบรับรองแพทย์ วุฒิบัตร ฯลฯ ควรกำหนดให้แน่นอนว่าต้องการอย่างละกี่ฉบับ เพื่อให้ผู้สมัครได้ตระเตรียมให้ถูกต้อง การรับสมัครก็ จะดำเนินไปอย่างราบรื่น
เจ้าหน้าที่รับสมัคร ในการรับสมัครแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะทางไปรษณีย์หรือให้มาสมัครที่องค์กร ควรมีการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ และต้องประจำอยู่ตลอด เวลา เพราะการสมัครในบางครั้งอาจจะเกิดการสับสนเรื่องตำแหน่ง และวุฒิทางการศึกษา ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัครจะต้องแก้ปัญหา ถ้ามีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอาจทำให้เกิดปัญหาได้ว่าบางคนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และถ้า บุคคลที่สามารถแก้ปัญหาได้ไม่อยู่ ก็อาจทำให้การรับสมัครเกิดความไม่คล่องตัว สร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้สมัคร ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ยอมสมัครเลยก็ได้
***********************************************