วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

การดำเนินคดีในส่วนอาญา

การดำเนินคดีในส่วนอาญา

ความหมายของคดีอาญา
คดีอาญา หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับความผิดและมีโทษซึ่งกำหนดไว้ในประมวญกฎหมาย
อาญาและ กฎหมายอื่นๆ เช่นพระราชบัญญัติต่างๆ ที่มีโทษทางอาญาเช่นความผิดตาม
พระราชบัญญัติอาวุธปืน พระราชบัญญัติจราจรทางบกเป็นต้นซึ่งโทษทางอาญานั้นมีอยู่
5 ประการด้วยกันคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขังปรับ และริบทรัพย์สินและประเภทของ
คดีอาญานั้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือคดีอาญาแผ่นดินหรือคดีอาญา ที่ยอมความไม่ได้เช่น
คดีฆ่าคนตายหรือคดีลักทรัพย์ และคดีอาญาอีกประเภทหนึ่ง คือคดีอาญาที่เกี่ยวกับ
ความผิดต่อส่วนตัว หรือคดีอาญาที่สามารถยอมความกันได้ เช่นคดียักยอกทรัพย์ เป็นต้น

บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญา

บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีอาญาได้แก่
(1.) ผู้ต้องหา หมายถึง บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดอาญาแต่ยังมิได้ ถูกฟ้องร้อง
ต่อศาลและ จำเลย หมายถึงบุคคลที่ถูกฟ้องต่อศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำผิด
(2.) ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิด ฐานใดฐานหนึ่ง
รวมทั้งบุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทน เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์หรือ ผู้แทนของ
นิติบุคคล
(3.) พนักงานอัยการ หมายถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องจำเลยต่อศาล
(4.) พนักงานสอบสวน หมายถึงเจ้าพนักงานที่กฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ในการ
สอบสวน เช่น เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อย ตำรวจตรีหรือเทียบเท่า
นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

ความหมายของผู้ต้องหาและจำเลย

ผู้ต้องหา คือ ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
จำเลย หมายถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำควา ผิด และในการ
จับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดพนักงาน สอบสวนต้องถามปากคำเด็ก
หรือเยาวชนให้เสร็จภายในเวลา24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นไปถึงสถานที่
ทำการของพนักงานสอบสวน เมื่อถามปากคำแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งเด็ก หรือ
เยาวชน นั้นไป ควบคุมที่สถานพินิจฯ และพนักงานอัยการจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน
30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม ยกเว้นกรณี มีการขอผัดฟ้อง


การผัดฟ้อง

เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดครบ 30 วันแล้ว หากเกิด
ความจำเป็นไม่สามารถฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลได้ เช่น การสอบสวนยังไม่เสร็จ
หรือมีการสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม พนักงาน สอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี
ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้ สำหรับเวลาในการผัดฟ้องนั้น คดีที่มีอัตรา
โทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนด ไว้ให้จำคุกเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี สามารถ
ผัดฟ้องได้ 2 ครั้งครั้งละไม่เกิน 15 วันและคดีที่อัตราโทษอย่างสูงที่ อย่างสูงที่
กฎหมายกำหนด ไว้ให้จำคุกเกิน 5 ปี ขอผัดฟ้องได้รวม 4 ครั้ง ครั้งละ ไม่เกิน 15 วัน
และเด็กหรือเยาวชน ผู้ต้องหามีสิทธิตั้งที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อแถลงข้อคัดค้าน หรือซัก
ถาม พยาน ในการพิจารณาคำร้องขอ ผัดฟ้องได้

การต่อสู้คดีของจำเลย

เมื่อศาลประทับรับฟ้องแล้วหากจำเลยประสงค์จะต่อสู้คดีควรปฏิบัติดังนี้ คือ ยื่นคำร้อง
ขอประกันตัวต่อศาล ยื่นคำให้การต่อศาล และหาที่ปรึกษากฎหมายเพื่อต่อสู้คดี สำหรับ
บุคคล ที่สามารถเป็นที่ปรึกษากฎหมายได้นั้น คือผู้ที่เป็นทนายความ ตามกฎหมายว่าด้วย
ทนายความ หรือได้รับปริญญาทางกฎหมาย ไม่ต่ำกว่าชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และได้จดทะเบียนที่ปรึกษากฎหมายต่อศาลเยาวชนและครอบครัว แล้ว


ที่ปรึกษากฎหมาย

ในศาลเยาวชนและครอบครัว จำเลยในคดีอาญาจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่
จำเลยจะมีที่ปรึกษากฎหมายซึ่งปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับทนายความได้ และหากจำเลย
ไม่มีที่ปรึกษากฎหมายศาลจะแต่งตั้งที่ปรึกษาให้ เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการ และศาลเห็นว่า
ไม่จำเป็นแก่คดี กรณีที่ศาลแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้จำเลย ๆ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
และไม่ต้องเสียค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการใดๆ ให้แก่ที่ปรึกษากฎหมายทั้งสิ้น เว้นแต่
จำเลย ประสงค์จะหาที่ปรึกษากฎหมายเอง จำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง


การให้การต่อศาล

เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว ก่อนที่ศาลพิจารณาคดีต่อไปศาลจะอ่านและอธิบายฟ้อง
ให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จำเลยจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้
หากจำเลยไม่ให้การถือว่าจำเลยปฏิเสธ จำเลยที่ประสงค์จะให้การ ควรปฏิบัติดังนี้คือ
ถ้าจำเลยกระทำผิดจริงควรให้การรับสารภาพต่อศาล เพราะการรับสารภาพเป็นเหต ุ
บรรเทาโทษอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยปกติศาลจะปรานีลดโทษให้ อันเป็นผลดีแก่จำเลย ที่จะ
ได้รับโทษในสถานเบาและถ้าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือประสงค์จะต่อสู้คดี ควรให้การ
ปฏิเสธความผิด ส่วนการให้การในรายละเอียดอย่างใดจึงจะเป็นผลดีแก่จำเลยควร
ปรึกษาที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งมีคดีบางประเภทกฎหมายยกเว้นโทษให้ บางกรณี
กฎหมายถือว่าไม่เป็นความผิด บางกรณีกฎหมายถือว่าเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ
หรือในบางกรณีกฎหมายให้อำนาจศาลที่จะลงโทษน้อยกว่าโทษที่บัญญัติไว้ ใน
กฎหมาย ดังนั้นจำเลยจะให้การอย่างไรเพื่อให้ได้รับประโยชน์ ตามเงื่อนของกฎหมาย
ควรจะปรึกษาที่ปรึกษากฎหมาย

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Hello. This post is likeable, and your blog is very interesting, congratulations :-). I will add in my blogroll =). If possible gives a last there on my blog, it is about the Notebook, I hope you enjoy. The address is http://notebooks-brasil.blogspot.com. A hug.